การบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Administration to Facilitation for Disaster Prevention and Mitigation of the Royal Thai Police)

วีณา วิจัยธรรมฤทธิ์ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการและ (3) เสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านการอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการหาคุณภาพ รวมทั้งผ่านการหาค่าความเที่ยงตรง และการหาค่าความเชื่อถือได้ ที่ระดับ 0.78 และ 0.74 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในพื้นที่ของสำนักงานเขต 2 เขต ของกรุงเทพมหานคร อันได้แก่ สำนักงานเขตลาดพร้าว และสำนักงานเขตวังทองหลาง จำนวน 625 คน โดยใช้สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น  96% และความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 4% การเก็บรวบรวมข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 – 31มีนาคม 2562 เก็บรวบรวมแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนมาได้จำนวน 478 ชุด/คน คิดเป็นร้อยละ 76.48 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 625 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติบริหารจัดการโดยไม่ได้ใช้นักบริหารมืออาชีพ (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญ คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรบริหารจัดการ หรือแก้ไขปัญหาโดยใช้นักบริหารมืออาชีพซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการสูง รวมทั้งปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ในเวลาเดียวกัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วย และ (3) ในส่วนของยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรกำหนดและนำยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตามแนวคิด PANT-ITERMS ที่สำคัญ 10 ด้าน มาปรับใช้เป็นกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการปฏิบัติงาน โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวควรเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ ความเป็นมืออาชีพ งบประมาณ ทรัพยากรมนุษย์ คุณธรรม การมุ่งความสำเร็จ การทำงานเป็นทีมหรือทีมงาน เทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร เครือข่าย และสังคมส่วนรวม

 

คำสำคัญ การบริหารจัดการ, ปัญหาด้านการอำนวยความสะดวกเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, แนวคิดแพ๊นท์-ไอเทิร์มส์



Abstract

Objectives of this study were to examine (1) problems of administration, (2) development guidelines of administration, and (3) propose strategies of administration to facilitation for disaster prevention and mitigation of the Royal Thai Police according to the PANT-ITERMS Concept. The PANT-ITERMS Concept of 10 aspects: Professional, Achievement, Network, Teamwork, Information, Technology, Economic Status, Resource, Morality, and Society was applied as conceptual framework of this study.

            This study was a survey research using questionnaires which passed through quality including validity and reliability check at 0.78 level and 0.74 level. Population was all 5,676,648 people in areas of the 50 District Offices in the Bangkok Metropolitan Authority. Sample size of 625 people, in areas of the 2 District Offices: Khet Ladprao and Khet Wang Thonglang in the Bangkok Metropolitan Authority, was calculated by Taro Yamane Sample Size Formula, 4% tolerance level and 96% confidence level. Field data collection was collected during 1 – 31 March, 2019 and total 478 completed sets of questionnaire which equaled with 76.48 % of the 625 total samples were returned. Data analysis was presented in contingency table with descriptive approach. Descriptive Statistics exercised were percentage, mean, and standard deviation.

            Findings of this research were (1) the main problem of administration was the Royal Thai Police's taking no advantage of the professional executive, (2) the main development guidelines of administration were the Royal Thai Police should perform or resolve problems by taking advantage of the professional executives with highly administrative knowledge, ability, and experience as well as working chiefly for the public interests. By the same time, the Royal Thai Police should also create strategies of administration, and (3) for the strategies of administration, the Royal Thai Police should create and apply the strategies of administration to facilitation management for disaster prevention and mitigation problems according to the PANT-ITERMS Concept of 10 significant aspects in order to apply as Key Performance Indicators (KPIs). The strategies should rank in descending order as Professional, Economic Status, Resource, Morality, Achievement, Teamwork, Technology, Information, Network and Society.

Keywords administration, facilitation for disaster prevention and mitigation problems, the Royal Thai Police, the PANT-ITERMS Concept



ไฟล์บทความ (.pdf)

show file