การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะป้องกันตัว ของนักศึกษาสาขาพลศึกษาชั้นปีที่ 4 ในการส่งเสริมสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสารและการร่วมมือผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้เทคนิคแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาศิลปะป้องกันตัว ภาคปกติ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) มคอ.3 ที่บูรณาการเนื้อหาทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดเทคนิคแบบร่วมมือในรายวิชาศิลปะป้องกันตัว เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้านการสื่อสารและความร่วมมือ จำนวน 12 คาบ 2)แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะความสามารถในการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยปรากฏผลดังนี้ ผลการศึกษาทักษะความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสื่อสารและความร่วมมือผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยเทคนิคแบบร่วมมือ พบว่า นักศึกษามีทักษะความสามารถในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสื่อสารและความร่วมมือผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยเทคนิคแบบร่วมมือสูงขึ้นโดยมีค่าเฉลี่ยก่อนการฝึก 1.82 และหลังการฝึกโดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00
This was the research and development (R&D) under the performance promotion in the 21th century in the dimension of communication and collaboration by the local wisdom in collaborative techniques. That aimed to develop the innovation of classroom research in the learning management of martial art subject. There were thirty-five samples, who were the 4th year physical education students, Faculty of Education, Pibulsongkram Rajabhat University, registered the martial art course in year 2014/ 2nd semester. The tools in research were 1) The Thai Quality framework: TQF in higher education regarding the collaboration technique for skill developing of learning management of the communication and collaboration during twelve class-times. 2) The evaluating of learning management planning for teaching skill. The description statistic and Paired-t test were the methods to analyze the data in research. And the results were discussed in following;
The leaning management skill comparison between before and after presented in overview results, there was 1.82 in pre-test and there was 4.68 in post-test at 0.00 of the significant level. And the study found that there were improving all of ten items of leaning management skill.