เนื่องจากสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลกในปัจจุบันและอนาคตได้มุ่งไปสู่สังคมยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบนั้น กล่าวได้ว่าผู้บริหารท้องถิ่นถือเป็นปัจจัยหลักที่สาคัญในการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ความสาเร็จในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสาคัญต่อวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมากมายมหาศาล อีกทั้งเทคโนโลยีดิจิทัลได้กลายมาเป็นเครื่องมือสาคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้แก่องค์การต่างๆ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย การเสริมสร้างความสามารถภาวะผู้นาดิจิทัลของผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อให้มีความสามารถในการนานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสาหรับการพัฒนาท้องถิ่นนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความสาคัญและมีความจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและมีความพร้อมรับมือกับภาวะคุกคามและความท้าท้ายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นให้สามารถนาพาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาก้าวหน้าสู่สังคมดิจิทัลตามมาตรฐานสากลต่อไป ดังนั้น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการนาเสนอให้เห็นถึงแนวทางในการเสริมสร้างความสามารถภาวะผู้นาดิจิทัลที่จาเป็นสาหรับผู้บริหารท้องถิ่นในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัล ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์ก็พบว่า ผู้บริหารท้องถิ่นที่ประสบความสาเร็จในยุคเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลจาเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถภาวะผู้นาดิจิทัลครอบคลุมใน 7 มิติคือ มิติการรับรู้ดิจิทัล มิติการมุ่งเน้นประชาชน มิติความสามารถในการเรียนรู้ มิติความสามารถในการปรับตัว มิติการขับเคลื่อนด้วยข้อมูล มิติการยอมรับทางวัฒนธรรม และมิติการทางานร่วมมือกัน
Due to the current and future social changes in the world, it is fully geared towards digital society. It can be said that local administrator is an important factor in driving local administrative organizations to success in transition to the digital society where digital technology has played an important role in the lives of many people. Moreover, digital technology has become an important tool that helps creating competitive advantage for various organizations, including local government organizations. Enhancing the digital leadership capabilities of local administrators in order to have the ability to use innovation and technology as a tool for local development is therefore important and essential for every local administrative organization to be an indicator of the ability to adapt and be ready to cope with threats and new challenges. Such actions will enable administrative organizations to continually progress to the digital society in accordance with international standards. Therefore, this article aims to present the guidelines for enhancing the essential digital leadership capabilities for local administrators in transition to the digital society. The results of the study found that local administrators who have succeeded in transition to the digital society need to be able to have digital leadership capabilities covered in 7 dimensions, including Digital Literacy, People Focus, Learning Agility, Adaptability, Data Driven, Cultural Dexterity and Collaborative.