การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านคลองซับรัง ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก (The potential development, and increase capabilities for mango products management in around of Ban Krong Sub Rang community Sai Yoi sub-district, Noen Maprang dictrict, Phitsanulok province.)

กิตติกา นาคทอง นันท์นภัส ชามะรัตน์ บุษยา สำราญจิตร์ รังสิมา พินนัตศักดา ศิริวรรณ บุญกอ เสาวลักษณ์ ศรีม่วง อลิษา เกตุวังแดง โชติ บดีรัฐ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านคลองซับรัง ตำบลไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง และเพื่อศึกษาการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 200 คน และเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา โดยใช้ความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการตีความเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 

1. สภาพปัญหาการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านคลองซับรัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเพาะปลูก มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านสายพันธุ์ การเพาะปลูกและดูแลรักษา ด้านการลงทุน ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และด้านการตลาด

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง ในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านคลองซับรัง พบว่า 1) ควรมีการกำหนดพื้นที่ในการเพาะปลูก โดยแยกประเภทในแต่ละสายพันธุ์ให้ชัดเจน 2) สายพันธุ์ของมะม่วงในเพาะปลูก ควรมีความหลากหลายให้เป็นที่นิยมของตลาด และ 3) ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ ควรมีการพัฒนาให้เหมาะสมและเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภค

3. การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการผลิตภัณฑ์มะม่วง พบว่า 1) ขั้นตอนการผลิต มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นซาลาเปาไส้มะม่วง ส่วนผสม ได้แก่ แป้งสาลี ตัดแป้งเป็นก้อนละ 45-50 กรัม จัดทำเป็นก้อนกลมๆ ห่อไส้มะม่วง และนำไปนึ่งไฟประมาณ 10 - 15 นาที โดยมีอายุการเก็บรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ 2) ด้านบรรจุภัณฑ์ได้พัฒนาโดยการเปลี่ยนรูปแบบถุงพลาสติกใสจากเดิม เปลี่ยนมาเป็นกล่องกระดาษแบบมาตรฐาน ขนาดกว้าง 5 ซม. ยาว 18 ซม. สูง 18 ซม. โดยเพิ่มฉลากแนะนำสินค้าและรายละเอียดต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีราคาสูงขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้บริโภค 3) ด้านราคา กำหนดจากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐานราคาตามท้องตลาดกล่องละ 35 บาท

 

คำสำคัญ การพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถ ผลิตภัณฑ์มะม่วง ชุมชนบ้านคลองซับรัง



Abstract

The purposes of this research were to study the condition of potential development problem, and capability enhancement for mango product management in Ban Khlong Sub Rang community, Sai Yoi Sub-district, Noen Maprang District, Phitsanulok Province; to study the model of potential development and capability enhancement for mango product management, to study the result for the benefit the potential development problem, and capability enhancement for mango product management. This is quantitative and qualitative research. The samples were 200 people and 10 people for qualitative research. The data were collected by using questionnaire and interview and analyzed by using percentage, mean, standard deviation (S.D.), and content analysis. The results were as follows:

            1. The problem of potential development and capability enhancement for mango product management in Ban Khlong Sub Rang community overall was at a moderate level. When considering by items, it was found that the cultivation was the highest followed by the species of mango plant and treatment, investment, package of products and marketing.

2. The model of potential development and capability enhancement for mango product management in Ban Khlong Sub Rang community found that 1) they should designate  the cultivating area and separate each type of mango specie clearly; 2) there should be varieties of mangoes to meet with market demand; and 3) the products or packaging should be appropriate for the customers’ needs.

3. The results for the benefit of potential development and capability enhancement for mango product management found that 1) production process is to make buns assorted with mango: the ingredients are wheat flour, and cut it into 45-50 gram lump; mold it and assort with mango, and then steam it about 10-15 minutes. This bun can be kept approximately 2 weeks; 2) packaging has been changed from transparent plastic bags to  standard paper box with 5 cm in width, 18 cm in length and 18 cm in height by adding the product label instructions and details to product value with higher price and meets the need of customers; 3) the price is based on the products and packaging  which cost 35 Baht each standardized by the market.

Keywords potential development, increase of capabilities, mango products, Khlong Sub Rang community.



ไฟล์บทความ (.pdf)

show file